วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

การทำปุ๋ยอินทรีชีวภาพ..!!

การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ..
ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ และอีกหลาย ๆ ชื่อ มีการให้คำจำกัดความในทางวิชาการที่ค่อนข้างหลากหลาย ในที่นี้ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพหมายถึง สารธรรมชาติที่ได้จากกระบวนการหมักบ่ม วัตถุดิบจากธรรมชาติต่าง ๆ ทั้งพืช และสัตว์จนสลายตัวสมบูรณ์เป็นฮิวมัส วิตามิน ฮอร์โมน และสารธรรมชาติต่าง ๆ (ดินป่า) ซึ่งเป็นทั้งอาหารของดิน (สิ่งมีชีวิตในดิน) ตัวเร่งการทำงาน (catalize) ของสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่อาศัยอยู่ในดิน และอาศัยอยู่ปลายรากของพืช (แบคทีเรีย แอคติโนมัยซิส และเชื้อรา ฯลฯ) ที่สามารถสร้างธาตุอาหารกว่า 93 ชนิดให้แก่พืช ภายใต้หลักการกสิกรรมธรรมชาติที่ว่า เลี้ยงดิน เพื่อให้ ดินเลี้ยงพืช” (Feed the soil and let the soil feed the plant) การให้ความสำคัญของดินด้วยการเคารพบูชาดินเสมือน แม่ภูมิปัญญาดั้งเดิมในการดูแลรักษาดิน ที่เรียกว่า พระแม่ธรณีสังคมไทยได้พัฒนาการผลิตอาหารให้แก่ดิน หรือปัจจุบันเรียกว่า ปุ๋ย ไว้หลายรูปแบบ ด้วยเทคโนโลยีที่ลึกซึ้งแนบแน่นกับธรรมชาติ ประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ
1.       เป็นอาหารของสิ่งมีชีวิตในดิน เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา และแอคติโนมัยซิส
2.       ให้ธาตุอาหาร และกระตุ้นให้จุลินทรีย์สร้างอาหารกว่า 93 ชนิดแก่พืช
3.       ช่วยปรับปรุงคุณสมบัติ และโครงสร้างดินให้ดีขึ้น
4.       ช่วยดูดซับ หรือดูดยึดธาตุอาหารไว้ให้แก่พืช
5.       ช่วยปรับค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
6.       ช่วยกำจัด และต่อต้านเชื้อจุลินทรีย์ที่ก่อโรคต่าง ๆ
7.       ทำให้พืชสามารถสร้างพิษได้เอง สามารถต้านทานโรค และแมลงได้ดี
สูตรปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพชนิดต่างๆ
ได้จากประสบการณ์ของเกษตรกร และนักวิชาการเครือข่ายต่าง ๆ ที่พัฒนามาจนได้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพที่มีคุณภาพ ให้คุณค่าทางธาตุอาหารโดยตรงแก่พืช และกระตุ้นให้จุลินทรีย์ในดินสร้างอาหารกว่า 93 ชนิดที่พืชต้องการ ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ซึ่งมีธาตุอาหารเพียง 3 ชนิด (N P K) และได้คุณภาพของผลผลิตที่สูงกว่า ได้รสชาติที่ดีกว่า และต้นทุนที่ต่ำกว่าการใช้ปุ๋ยเคมี โดยในปัจจุบันพบว่ามีสูตรการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมากกว่า 100 สูตร ซึ่งมีการพัฒนาการผลิตมาช้านานแต่ใช้ในวงจำกัดไม่แพร่หลายเหมือนกับปุ๋ยเคมี

ปุ๋ยหมักชีวภาพคือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำเอนไซม์ ช่วยในการปรับปรุงดิน ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
วัสดุทำปุ๋ยหมักชีวภาพ  
                  1.อินทรียวัตถุที่หาได้ในพื้นที่ หญ้าแห้ง ฟาง ใบไม้ 1 กิโลกรัม

            2.มูลสัตว์ต่าง ๆ กากถั่วต่าง ๆ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว 3 กิโลกรัม
                    3.รำละเอียด 1 กิโลกรัม
       
    4.น้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100
 
 วิธีทำ

1.นำส่วนผสมทั้งหมดเทรวมกัน

 2.คลุกให้เข้ากันนำน้ำที่ผสมน้ำชีวภาพและกากน้ำตาลรดให้ทั่ว

 3.เพิ่ม น้ำรดส่วนผสมไปเรื่อยๆ (โดยผสมปุ๋ยน้ำชีวภาพกับกากน้ำตาลในน้ำ ตามส่วนที่กำหนด) พร้อมกับคลุกเพื่อให้น้ำซึมหมาดไปทั่วทั้งกองปุ๋ย
 4.เกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันสูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซม.
 5.คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด
 
ประมาณ 12 ชั่วโมง ให้ทดสอบโดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก เมื่อครบ 24 ชั่วโมง จะเริ่มมีเส้นขาวๆ ปรากฏขึ้นบนผิวกองปุ๋ย แสดงว่าจุลินทรีย์เริ่มทำงาน อีก 3-4 วัน ต่อมาให้ทดสอบอีกครั้ง ถ้าปุ๋ยเย็นลงถือว่าใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อจนกว่าจะเย็น จึงสามารถนำไปใช้ได้

ปุ๋ย หมักชีวภาพที่ได้จะประกอบด้วยจุลินทรีย์ สารอินทรีย์ต่าง ๆ ที่มีสารอาหารเหมาะสำหรับพืชนำไปใช้ทันที ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อรา ในระหว่างการหมักถ้าไม่เกิดความร้อนแสดงว่ามีข้อผิดพลาด อุณหภูมิในการหมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนนานเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ให้พอดีประมาณ 30%

วิธีใช้
1. ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อ 1 ตารางเมตร
2. พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่น กะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตง ฟักทอง ควรใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุมก่อนปลูกกล้าผักประมาณ 2 กำมือ รดน้ำให้ชุ่ม ๆ
3. ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้า ใบไม้แห้ง ฟาง และปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 2 กำมือต่อ 1 ตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟาง แล้วรดน้ำให้ชุ่ม
4. ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้กระถาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งต่อ 1 กำมือ ใช้ 1 กิโลกรัม ต่อ 2x3 ตารางเมตร
ปุ๋ย หมักชีวภาพใช้เวลาสลายสารอาหารสำหรับพืชเร็วกว่าปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เมื่อใส่ลงดินที่มีความชื้นพอเหมาะ เชื้อจุลินทรีย์ที่ได้ปุ๋ยหมักชีวภาพจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน ให้เป็นประโยชน์ต่อต้นไม้
จึง ไม่จำเป็นต้องให้ในปริมาณมาก ๆ และในดินควรมีอินทรีย์วัตถุพวกปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก หญ้าแห้ง ใบไม้แห้ง ฟาง และมีความชื้นเพียงพอ ต้นพืชจึงจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ
แต่ ถ้าใส่ครั้งละมากเกินไปอาจทำให้ต้นไม้ตายได้ ส่วนจะให้ครั้งละปริมาณเท่าไร บ่อยครั้งเท่าไร เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดนั้น กรุณาประมาณและสังเกตความเหมาะสมด้วย
ปุ๋ยดินหมักชีวภาพสำหรับเพาะต้นกล้า
วัสดุที่ใช้
1. ดินแห้งทุบให้ละเอียด ใช้ดินได้ทุกชนิด 5 ส่วน
2. ปุ๋ยคอกแห้งทุบละเอียด 2 ส่วน
3. แกลบดำ 2 ส่วน
4. รำละเอียด 2 ส่วน
5. ขุยมะพร้าวหรือขี้เค้กอ้อย 2 ส่วน
6. น้ำเอนไซม์ 1 + น้ำตาล 1 + น้ำ 100 คนให้เข้ากัน
วิธีทำ
1. ผสมวัสดุทั้งหมด คลุกเคล้าจนเข้ากันดี
2. รดด้วยน้ำเอนไซม์ที่ผสมแล้ว บนกองวัสดุให้ความชื้นพอประมาณ กำแล้วใช้นิ้วดีดแตก ไม่ให้แฉะเกินไป
3. เกลี่ยบนพื้นซีเมนต์ให้กองหนาประมาณ 1 ศอก คลุมด้วยพลาสติก หรือกระสอบป่าน หมักไว้ 5 วัน จึงนำไปใช้ได้
4. ปุ๋ยดินหมักชีวภาพที่ดีจะมีราสีขาวเกิขึ้น มีกลิ่นหอม สามารถเก็บไว้ใช้ได้นาน ๆ
วิธีใช้
1. ผสม ปุ๋ยดินหมักชีวภาพกับดินแห้งทุบละเอียดและแกลบดำอย่างละเท่า ๆ กัน คลุกจนเข้ากันดี เพื่อนำไปกรอกถุง หรือถาดเพาะกล้า หรือนำไปใส่ในแปลงสำหรับเพาะกล้า จะช่วยให้ได้ต้นกล้าที่เจริญเติบโตสมบูรณ์แข็งแรง
2. นำไปเติมในกระถางต้นไม้ดอกไม้ประดับได้ดี กระถางละ 2 กำมือ..


เครดิต:บ้านไร่ ศรีสุทัศน์
Email:taajook@gmail.com 

การทำปุ๋ยหมัก..จากเศษวัสดุธรรมชาติ.!!

การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุธรรมชาติ..
        
          ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการบำรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
วัสดุอุปกรณ์
          1) มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน
          2) แกลบดำ 1 ส่วน
          3) อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว ขุยมะพร้าวกากปาล์ม เปลือกมัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
          4) รำละเอียด 1 ส่วน
          5) น้ำสกัดชีวภาพ หรือใช้หัวเชื่อจุลินทรีย์ 1 ส่วน
          6) กากน้ำตาล 1 ส่วน
          7) น้ำ 100 ส่วน
          8)บัวรดน้ำ





ขั้นตอนวิธีทำ

          1) นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
          2) ผสมเอาส่วนของน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี ใส่บัวราดบนกลองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันจนทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นหรือแห้งจนเกินไป (ประมาณ 30-40%) หรือลองเอามีดขยำบีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตกออกจากกันและมือรู้สึกชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจากกันยังใช้ไม่ได้ต้องรดน้ำเพิ่ม
          3) หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 7 วัน ก็นำไปใช้ได้
          4) วิธีหมักทำได้ 2 วิธี คือ
                    4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 วัน คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อน ในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้องเอากระสอบที่คลุมออกแล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
                    4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่เข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ย ไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน จะได้ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์ และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกันกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลย แสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการกมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ต้องพอดี ประมาณ 30% ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม








 วิธีใช้
          1.) ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

          2.) พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่นกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตงและฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกผักประมาณ 1 กำมือ
          3) ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าหรือใบไม้แห้ง ฟางและปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 1.5 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือ
          4.) ลักษณะของปุ๋ยหมักต่างๆ ตามระยะเวลาในการนำมาใช้ โดยแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้
                    4.1ปุ๋ยหมักค้างปี ใช้เศษพืชหมักอย่างเดียวนำมาหมักทิ้งไว้ค้างปีก็สารมารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมัก โดยไม่ต้องดูแลรักษา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการหมักนานประมาณ 1 ปี
                    4.2 ปุ๋ยหมักธรรมดา ใช้มูลสัตว์ ใช้เศษพืชและมูลสัตว์ในอัตรา 100:10 ถ้า เป็นเศษพืชชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย แต่ถ้าเป็นเศษพืชส่วนใหญ่ๆ นำมากองเป็นชั้นๆ แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์แบบนี้ใช้ระยะเวลาหมักน้อยกว่าปุ๋ยหมักค้างปี เช่น ถ้าใช้ฟางข้าวจะใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือนในการหมัก
                    4.3 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่ง ใช้เวลาในการทำสั้นทำได้โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายของเศษพืช และมูลสัตว์ทำให้ได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้นนำไปใช้ได้ทันฤดูกาลโดยใช้สูตรดังนี้ เศษพืช 1000 กิโลกรัม มูลสัตว์ 100 กิโลกรัม และเชื่อจุลินทรีย์ (น้ำหมักชีวภาพ) ตามความเหมาะสม ใช้เวลาหมักประมาณ 30-60 วัน มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการประหยัดในการซื้อเชื่อจุลินทรีย์
                    4.4 ปุ๋ยหมักต่อเชื้อ เป็นการนำปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่งจำนวน 100 กิโลกรัม นำไปต่อเชื้อการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักได้อีก 1000 กิโลกรัม(1 ตัน) การต่อเชื้อนี้สามารถทำการต่อได้เพียงอีก 3 ครั้ง ใช้เวลาการหมักประมาณ 30-60 วัน มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการประหยัดในการซื้อเชื่อจุลินทรีย์
          5.) การพิจารณาในแง่ใช้ประโยชน์สูงสุดในการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพต้องพิจารณาจาก ลักษณะของการใส่ให้แก่พืชปลูก โดยแบ่งได้ 3 แบบดังนี้
                    5.1 ใส่แบบหว่านทั่วแปลงการใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุง บำรุงดิน เนื่องจากปุ๋ยหมักจะกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืชที่มีขนาดไม่ ใหญ่มากนัก ส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพืชผัก แต่จะต้องใช้แรงงานในการใส่ปุ๋ยหมัก อัตราของปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ต่อปี
                    5.2 ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการปลูกพืชไร่ วิธีการใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวที่เหมาะสมที่จะใช้แบบโรยเป็นแถวสำหรับระบบการ ปลูกพืชไร ทั่วไป อัตราปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 3 ตันต่อไร่ต่อปี
                    5.3 ใส่แบบเป็นหลุม การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นโดยสามารถใส่ปุ๋ยหมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อการปลูก นำดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักแล้วใส่รองก้นหลุม อีกระยะหนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยหมักในช่วงที่พืชเจริญแล้ว โดยการขุดเป็นร่องรอบๆ ตันตามแนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วยดิน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักประมาณ 20-50 กิโลกรัมต่อหลุม..







การใช้ประโยชน์
          1.) ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
          2.) เพิ่มการดูดซับของธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
          3.) เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื่อโรคบางชนิด
          4.) การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
          5.) ดินค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช
 

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร
       เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้
       
ส่วนผสม :เรา สามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน
      
วิธีทำ :นำ ส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย
    1. ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้
    2. ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย
    3. ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช




ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หาก ต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้
           นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า"หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ"เมื่อ นำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น



เครดิต: http://www.manowsi.com
Email:taajook@gmail.com

การทำปุ๋ยหมักชีวภาพ..รวมสูตรต่างๆ .!!

  รวมสูตรปุ๋ยหมักชีวภาพและน้ำหมักชีวภาพ

สูตรที่ 1 คุณสมยศ รักษาวงศ์..
ส่วนผสม : ผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารเหลือทิ้ง 1 ส่วน + กากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
วิธีผสม : ผสมส่วนผสมเข้าด้วยกันทิ้งไว้ 7 วัน (น้ำหมักจะเริ่มเป็นสีน้ำตาลไหม้ มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยว ถ้าน้ำหมัก มีสีน้ำตาลอ่อน และกลิ่นบูดแสดงว่าใส่น้ำตาลไม่พอให้เพิ่มกากน้ำตาลลงไปอีก กลิ่นบูดจะค่อยๆ หายไปหมักต่อไปเรื่อยๆ) ตวงน้ำหมักใส่ขวดหรือภาชนะเก็บในที่มืด ในห้องธรรมดาจะเก็บไว้ได้นาน 6 เดือน ถึง 1 ปี



การใช้ประโยชน์
1. ปุ๋ยชีวภาพแห้ง
ส่วน ผสม : เศษวัสดุจากพืช 10 ปี๊บ + แกลบ 10 ปี๊บ + มูลสัตว์ 10 ปี๊บ + รำอ่อน 1 ปี๊บ + น้ำหมักพืช 1 ช้อนแกง + กากน้ำตาล 4 ช้อนแกง + น้ำ 1 ถังฝักบัว (18 ลิตร)
วิธีผสม : นำส่วนผสมแห้งทั้งหมดคลุกให้เข้ากันนำน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล รดให้ทั่ว ตรวจสอบความชื้นของปุ๋ย โดยกำไว้ในมือ เมื่อปล่อยมือออกจะจับเป็นก้อนหลอมๆ พอแตะก้อนแล้วแตกเป็นใช้ได้ แล้วเกลี่ยกองปุ๋ยให้เสมอกันให้สูงจากพื้นไม่เกิน 30 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่านให้มิดชิด ถ้าผสมปุ๋ยในช่วงเช้า ตอนเย็นให้ทดสอบดู โดยสอดมือเข้าไปในกองปุ๋ยจะร้อนมาก และในวันรุ่งขึ้นจะเริ่มมีเส้นใยขาวๆ ปรากฏบนผิวกองปุ๋ยแสดงว่า จุลินทรีย์เริ่มทำงานทิ้งไว้ 3 วัน แล้วเปิดกระสอบป่านออกคลุกกับปุ๋ยให้ทั่วอีกครั้งหนึ่ง แล้วปิดกระสอบไว้ตามเดิม อีก 3 - 4 วันต่อมา ให้ทดสอบดูอีก ถ้าปุ๋ยมีความเย็นถือว่า ใช้ได้ ถ้ายังมีความร้อนอยู่ให้ทิ้งไว้ต่อไปอีกจนกว่าจะเย็นจึงสามารถนำไปใช้ได้
2. ปุ๋ยคอกหมัก
วิธีทำ : นำมูลสัตว์ แกลบเผา และรำละเอียดมาผสม เข้าด้วยกัน นำน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลผสมน้ำรดกองปุ๋ยที่ผสมคลุกให้ทั่วให้มีความชื้นระดับเดียวกับ การทำปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) เกลี่ยกองปุ๋ยบนพื้นให้หนาไม่เกิน 15 ซ.ม. คลุมด้วยกระสอบป่าน ทิ้งไว้ 3 - 5 วัน โดยไม่ต้องกลับเมื่อปุ๋ยเย็นลงนำไปใช้ได้
3. สารขับไล่แมลง
3.1) สูตรทั่วไป ส่วนผสม : นำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล เหล้าขาว น้ำส้มสายชู อย่างละ 1 ขวด (ขวดกลม) และน้ำสะอาด 10 ขวด
วิธี ทำ : ผสมส่วนผสมให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้ 15 วัน (ควรมีฝาปิดมิดชิด) ระหว่างการหมัก (ช่วง 15 วันแรก) ให้เปิดฝาคนทุกวันเช้า - เย็น เพื่อไม่ให้เป็นตะกอนนอนก้นและเพื่อระบายแก๊สออกครบกำหนดให้นำไปใช้ได้ หัวเชื้อนี้สามารถเก็บได้นาน 3 เดือน โดยไม่ต้องเปิดฝาระบายแก๊สเป็นครั้งคราว
การใช้ประโยชน์ : นำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงนี้ไปผสมกับน้ำในอัตราส่วน 5 ช้อนแกง กากน้ำตาล 5 ช้อนแกงผสมกับน้ำ 10 ลิตร จากนั้นนำส่วนผสมไปฉีดพ่นต้นไม้สัปดาห์ละ 1 - 2 ครั้ง หรือตามความจำเป็น (ใช้บ่อยๆ ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อพืชและคน) โดยฉีดพ่นในช่วงเย็น สำหรับพืชที่กำลังแตกใบอ่อนให้ใช้ในอัตราส่วนที่เจือจางลงโดยหัวเชื้อที่ผสม น้ำแล้วหากใช้ร่วมกับพืชสมุนไพรต่างๆ เช่น สะเดา ข่า ตระไคร้หอม ยาสูบโดยนำหัวเชื้อยาขับไล่แมลงใส่เพิ่มลงไปอีก 5 ช้อนแกง (ต่อน้ำ 10 ลิตร) จะทำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น


3.2) สูตรเข้มข้น วิธีทำ : ใช้ส่วนผสมและวิธีทำเหมือนสูตรธรรมดา แต่เพิ่มปริมาณเหล้าขาวเป็น 2 ขวด
การ ใช้ประโยชน์ : ใช้ฉีดพ่นปราบหนอน และแมลงศัตรูพืชที่ปราบยาก เช่น หนอนกอกลม หนอนชอนใบ ฯลฯ โดยใช้สัดส่วนหัวเชื้อสูตรเข้มข้น 1 แก้ว ต่อน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) หรือมากน้อยกว่านี้แล้วแต่ความเหมาะสม หรือใช้กำจัดเหาในศีรษะคน โดยเอาน้ำราดผมให้เปียกแล้วชะโลมด้วยหัวเชื้อสูตรเข้มข้นผสมน้ำในอัตราส่วน 1 ต่อ 50 หมักไว้ 30 นาที แล้วล้างออกให้สะอาด หรือใช้กำจัดเห็บ หมัดในสัตว์เลี้ยง
4. ฮอร์โมนพืช
ส่วนผสม : ประกอบด้วย กล้วยน้ำว้าสุก /ฟักทองแก่จัด /มะละกอสุก อย่างละ 1 ก.ก. น้ำหมักพืช 2 ช้อนแกง กากน้ำตาล 2 ช้อนแกง และน้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ : สับกล้วย ฟักทอง และมะละกอ (ทั้งเปลือกและเมล็ด) ให้ละเอียด (ส่วนแรก) จากนั้นนำน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำสะอาดให้เข้ากัน (ส่วนที่สอง) จากนั้นนำส่วนผสมทั้งสองส่วนมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วบรรจุลงในถุงปุ๋ยโดยหมักไว้ในถังพลาสติกปิดฝาระยะเวลา 7 - 8 วัน
การ ใช้ประโยชน์ : นำส่วนที่เป็นน้ำจากการหมัก (ในถังพลาสติก) ผสมกับน้ำในอัตราส่วน 2 ช้อนแกงต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดพ่นหรือรดต้นไม้ในช่วงติดดอกจะทำให้ติดผลดี ส่วนที่เป็นไขมันเหลืองๆ ในถุงปุ๋ย ใช้ทากิ่งตอน กิ่งปักชำ กิ่งทาบ ฯลฯ ช่วยให้แตกรากดี


การประยุกต์ใช้กับพืชการเกษตร..
1. ข้าว ในพื้นที่นาข้าว 1 ไร่ ใส่ปุ๋ยชีวภาพ (ปุ๋ยแห้ง) 200 ก.ก. โดยแบ่งใส่เป็นระยะดังนี้ ..
- ไถ่พรวน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 100 ก.ก. (ต่อ 1 ไร่) ให้ทั่ว จากนั้นนำน้ำหมักชีวภาพที่ได้จากน้ำหมักพืช 2 แก้ว กากน้ำตาล 2 แก้ว ในน้ำ 200 ลิตร (1 ถังแดง) ต่อพื้นที่ 1 ไร่ ฉีดพ่นให้ทั่วแล้วไถพรวน ทิ้งไว้ 15 วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในน้ำหมักพืชทำการย่อยสลายวัชพืชและเร่งการงอกของเมล็ด ข้าว เมื่อไถพรวนแล้ว 15 วัน ให้ฉีดพ่นน้ำผสมน้ำหมักพืช และกากน้ำตาล ในอัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง แล้วไถกลบเพื่อทำลายวัชพืชให้เป็นปุ๋ยพืชสด ทิ้งไว้อีก 15 วัน แล้วจึงไถคราดเพื่อดำนาต่อไป
- ไถคราด พ่นน้ำหมักพืชผสมกากน้ำตาลและน้ำ อัตราส่วนเท่าเดิมอีกครั้งหนึ่ง ก่อนไถคราดให้ทั่วเพื่อเตรียมปักดำ
- หลังปักดำ 7-15 วัน ให้หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
- ข้าวอายุ 1 เดือน หว่านปุ๋ยชีวภาพ 30 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตราส่วนน้ำ 1 ถังแดงต่อน้ำหมักพืช และกากน้ำตาลอย่างละ 1 แก้ว
- ก่อนข้าวตั้งท้องเล็กน้อย หว่านปุ๋ยชีวภาพ 40 ก.ก. ต่อไร่ ฉีดพ่นด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชและกากน้ำตาล อย่างละ 1 แก้ว
- การป้องกันศัตรู ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลงผสมกับน้ำฉีดพ่นทุก 15 วัน โดยฉีดพ่นในช่วงเช้ามืดหรือช่วงเย็น หรือถ้ามีต้องการป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ ให้เตรียมจากส่วนผสมของยาฉุน 2 - 3 ก.ก. + หนอนตายยาก 1 ก.ก. + น้ำสมสายชู 1 ลิตร + หล้าขาว 1 ขวด + กากน้ำตาล 1 ขวด หมักทิ้งไว้ประมาณ 2 - 3 วัน แล้วฉีดพ่นในแปลงนาระยะปล่อยน้ำเข้า ช่วงเตรียมดินในอัตราส่วน 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
หมายเหตุ : ต่อพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้ปุ๋ยชีวภาพเฉลี่ย 200 ก.ก. ในปีแรกที่ใช้ปุ๋ยชีวภาพอาจต้องใช้ปุ๋ยปริมาณมาก แต่เมื่อดินคืนสภาพสู่ความอุดมสมบูรณ์ดีแล้วปีต่อๆ ไป จะสามารถใช้ปุ๋ยในปริมาณน้อยลงเรื่อยๆ ส่วนปริมาณผลผลิตในปีแรกอาจจะไม่เพิ่มกว่าปกติ แต่ในช่วงปีต่อไปๆ ไปปริมาณ ผลผลิตสูงขึ้นเรื่อย ทำให้ได้ประโยชน์ทั้งการลดต้นทุนค่าปุ๋ย และเพิ่มปริมาณผลผลิต
2. ผักสวนครัว
- โรยปุ๋ยชีวภาพ 2 กำมือ ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร เอาหญ้าหรือฟางแห้งคลุมทับ
- รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชในอัตรา 1 ช้อนแกง ต่อน้ำ 10 ลิตร ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูก
- โรยปุ๋ยชีวภาพซ้ำรอบๆ ทรงพุ่ม (อย่าให้โดนใบหรือโคนต้น) เดือนละ 1 - 2 ครั้ง
- รดน้ำผสมน้ำหมักพืช อัตราส่วน 2 ช้อนแกง ต่อน้ำ 1 ถังฝักบัว สัปดาห์ ละ 1 - 2 ครั้ง
- ใช้หัวเชื้อยาขับไล่แมลง กากน้ำตาล (เพื่อช่วยจับใบ) ผสมน้ำฉีดพ่นเมื่อมีศัตรูพืชระบาด
3. ไม้ผลและไม้ยืนต้น
วิธีใช้ : ใช้ปุ๋ยชีวภาพรองก้นหลุม จำนวน 2 กำมือ คลุกกับดินก้นหลุมให้เข้ากัน รดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืช (น้ำหมักพืช 1 ช้อน ต่อน้ำ 10 ลิตร) ทิ้งไว้ 7 วัน จึงลงมือปลูกคลุมโคนต้นด้วยเศษใบไม้แห้ง เมื่อต้นไม้ตั้งตัวได้แล้วให้พรวนดิน และโรยปุ๋ยซ้ำรอบทรงพุ่ม ต้นละ 2 ก.ก. ต่อปี พร้อมกับรดด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชเป็นระยะๆ


4. การแก้ปัญหาวัชพืชโดยไม่ใช้สารเคมี
วิธีทำลายวัชพืช : ตัดหรือล้มวัชพืชต่างๆ ให้เกิดรอยช้ำ แล้วโรยปุ๋ยชีวภาพทับลงไปหรือไถพรวน จากนั้นฉีดพ่นซ้ำด้วยน้ำผสมน้ำหมักพืชปริมาณเข้มข้น (น้ำ 10 ส่วน ต่อน้ำหมักพืช 1 ส่วน) โดยใช้วิธีการนี้ก่อนการไถพื้นที่นาหรือใส่ล่วงหน้าประมาณ 1 เดือน และหลังการเก็บเกี่ยว หากทำติดต่อกัน 3 ปี สภาพดินจะร่วนซุ่ยจนไม่จำเป็นต้องไถพรวนอีกต่อไป
5. การปศุสัตว์
การเลี้ยงสุกร ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร กากน้ำตาล 1 ลิตร น้ำสะอาด 100 ลิตร ในภาชนะแล้วปิดฝาให้สนิท หมักทิ้งไว้ 3 วัน จึงนำไปใช้ประโยชน์ได้
- ทำความสะอาด ให้นำไปฉีดล้างคอกให้ทั่ว จะกำจัดกลิ่นมูลเก่าได้ภายใน 24 ช.ม. หากทำซ้ำทุกสัปดาห์ น้ำล้างคอกนี้จะช่วยบำบัดน้ำเสียตามท่อและบ่อพักให้สะอาดขึ้นด้วย หรือถ้าผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 100 ลิตร ฉีดพ่นตามบ่อน้ำ เพื่อกำจัดหนอนแมลงวัน จะเห็นผลใน 1 - 2 สัปดาห์
- ผสมอาหาร ให้ผสมน้ำหมักพืช 1 ลิตร ต่อน้ำสะอาด 5 - 20 ถังแดง (โดยประมาณ) ให้สุกรกินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรงมีความต้านทานโรค และป้องกันกลิ่นเหม็นจากมูลสุกรที่เกิดขึ้นใหม่ด้วย กรณีลูกสุกรที่ท้องเสียให้ใช้น้ำหมักพืช (หัวเชื้อ) 5 ซี.ซี. หยอดเข้าปากจะรักษาอาการได้
หมายเหตุ : กรณีที่เลี้ยงวัว ควาย ก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้โดยผสมน้ำหมักพืช กากน้ำตาล และน้ำแล้วรดฟางหรือหัวอาหารให้กิน รวมทั้งใช้ผสมในน้ำให้กินทุกวัน
การเลี้ยงไก่ และสัตว์ปีกอื่นๆ ใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำสะอาดให้กินทุกวันจะช่วยให้แข็งแรง ไข่ดก น้ำหนักดีอัตราการตายต่ำและมูลสัตว์ไม่มีกลิ่นเหม็น หากใช้น้ำหมักพืชผสมน้ำฉีดพ่นตามพื้นที่กำจัด กลิ่นแก๊ส และกลิ่นเหม็นจากมูลทุก ๆ 4 วัน และยังช่วยกำจัด การขยายพันธุ์ของแมลงวันทางอ้อมด้วย


 
สูตรที่ 2 วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสุพรรณบุรี..

1. น้ำหมักชีวภาพจากปลา ส่วนผสม : เนื้อปลา น้ำกรดเข้มข้น 3% กากน้ำตาล 20% และหัวเชื้อจุลินทรีย์
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำมากรองกากมาทำปุ๋ย และน้ำไปฉีดพ่น
การ ใช้ประโยชน์ : ใช้อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนเหมาะแก่การเจริญเติบโต ลดการใช้ปุ๋ยเคมี หรือใช้ในนาข้าวช่วงก่อนหว่านข้าวฉีดพ่นพร้อมสารควบคุมวัชพืช อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร และหลังหว่านข้าว 20 วัน อัตรา 50 - 60 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ช่วยเร่งการแตกกอ และเพิ่มจำนวนต้น ต่อกอ รวมทั้งใช้ฉีดพ่นข้าวระยะตั้งท้องและน้ำนมด้วย
2. น้ำหมักชีวภาพจากเศษซากพืช ส่วนผสม : เศษพืช 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดง หรือกากน้ำตาล 1 ส่วน
วิธีทำ : นำส่วนผสมรวมกันหมักทิ้งไว้นาน 3 เดือน
การใช้ประโยชน์ : ใช้เป็นปุ๋ยให้กับผัก หรือฉีดพ่นขับไล่แมลง และป้องกันกำจัดโรคบางชนิด
3. น้ำหมักสมุนไพร 3.1 พืชผักสวนครัว
ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 10 ลิตร
วิธีทำ : นำส่วนผสมมาผสมรวมกัน
การใช้ประโยชน์ : ป้องกันเพลี้ยอ่อน หนอนใยผัก หนอนกระทู้ หนอนคืบ เพลี้ยไฟในถั่วฝักยาว ถั่วพู แค คะน้า ฯลฯ
3.2 สวนไม้ผล
ส่วนผสม : เมล็ดสะเดา 2 ก.ก หัวข่าแก่ 1 ก.ก. ตะไคร้หอม 1 ก.ก. และน้ำหมักชีวภาพ 20 ลิตร
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันทั้งหมดทิ้งไว้ 1 คืน แล้วใช้ผ้ากรองมาใช้ประโยชน์
การ ใช้ประโยชน์ : นำน้ำเชื้อที่ได้ 1 ลิตร ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นไม้ผลขณะแตกใบอ่อน ระยะออกดอก และมีผล เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟ หนอนแก้วส้ม แมลงวันทอง ด้วงงวงมะพร้าว

สูตรที่ 3 เครือข่ายผัก โครงการพัฒนาเกษตรยั่งยืน..
1. น้ำหมักสมุนไพร
ส่วนผสม : หางไหล บอระเพ็ด หนอนตายยาก ตะไคร้หอม เปลือกสะเดาหรือใบแก่ สาบเสือ ยาสูบ (ก้าน หรือใบสด ใช้อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้)
วิธี ทำ : นำส่วนผสมมาสับให้ละเอียดใส่ในโองหรือถังใส่น้ำให้ท่วมฝามือ (30 - 50 ลิตร) จากนั้นใส่เหล้าขาว 1 ขวด ตามด้วยหัวน้ำส้ม 150 ซี.ซี. (ถ้าไม่มีใส่ผลมะกรูด หรือมะนาวผ่าซีก 2 ลูก) หากมีกลิ่นเหม็นให้ใส่กากน้ำตาล หมักไว้ 7 วัน สามารถนำไปใช้ได้
การใช้ประโยชน์ : ขับไล่หนอนใย หนอนกระทู้ เพลี้ยอ่อน และป้องกันกำจัดโรคเน่า โรคใบไหม้ในผักบางชนิด


2. ปุ๋ยหมักชีวภาพสูตรเร่งรัด (3 วัน) ส่วนผสม : มูล (วัว, เป็ด, หมู) 1 ปี๊บ ขี้เถ้าแกลบ 1 ปี๊บ รำละเอียด 1 ก.ก. น้ำหมักชีวภาพ 50 -100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร
วิธี ทำ : นำส่วนผสม มาคลุกเคล้า แล้วนำน้ำหมัก มารดให้ได้ ความชื้น 50% สังเกตได้จากกำมือแล้วแบออกปุ๋ยจะค่อยๆ แตกตัวออก ถ้าใช้ถุงพลาสติกคลุมหรือใช้กระสอบปุ๋ยหมักจะสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้เร็วขึ้น ปุ๋ยที่จะนำไปใช้ต้องหมดความร้อนก่อน
การใช้ประโยชน์ : แก้ปัญหาดินเสื่อมสภาพในแปลงผักโดยใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ 1 ตันต่อไร่ (40 กระสอบ) หรือใช้น้ำหมักชีวภาพ ฉีดพ่นทางใบ อัตรา 30-40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ทุกๆ 5 วัน หรือใช้ทางดิน อัตรา 100 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ปล่อยตามท้องร่อง

สูตรที่ 4 เครือข่ายข้าว โครงการพัฒนาการเกษตรยั่งยืน
ส่วนผสม : เช่นเดียวกับสูตรที่ 1
วิธีทำ : เช่นเดียวกับสูตรที่ 1
การใช้ประโยชน์ : ใช้ในนาข้าวดังนี้
1. การป้องกันกำจัดวัชพืช ใช้อัตรา 3 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่ โดยปล่อยให้ไหลไปตามทางน้ำไหลเข้านา หรือจะใช้วิธีฉีดพ่น ใช้อัตรา 200 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร ต่อพื้นที่ 1 ไร่
2. ใช้แทนการปุ๋ยเคมี ให้เริ่มตั้งแต่ช่วงเตรียมดิน (ป้องกันกำจัดวัชพืช) และใช้ครั้งต่อไปหลังหว่านข้าว 10 - 15 วัน และใช้ต่อเนื่องทุก 10 วัน รวม 5 ครั้ง ใช้อัตรา 1 ลิตร/น้ำ 200 ลิตร สำหรับพื้นที่ 1 ไร่
3. ลดการใช้ปุ๋ยเคมีครึ่งหนึ่ง โดยงดการใช้ปุ๋ยแต่งหน้า แต่ใช้น้ำหมักชีวภาพแทนปฏิบัติดังนี้คือ ใช้ปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 อัตรา 15 ก.ก. ต่อไร่ หลังหว่านข้าว 15 - 20 วัน แล้วใช้นำหมักในอัตราเดียวกับข้อ 2
4. ป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ โดยใช้ส่วนผสมของยาฉุน 2 - 3 ก.ก. + หนอนตายยาก 1 ก.ก. + น้ำส้มสายชู 1 ลิตร + เหล้าขาว 1 ขวด + กากน้ำตาล 1 ขวด หมักทิ้งไว้ 2 - 3 วัน แล้วฉีดพ่นในแปลงนาระยะปล่อยน้ำเข้านาช่วงเตรียมดิน ในอัตราส่วน 40 ซี.ซี. ต่อน้ำ 20 ลิตร


สูตรที่ 5 อาจารย์ชลอ รุ่งกำจัด..

ส่วนผสม : เศษซากพืชสด 3 ส่วน (หากเป็นเศษซากสัตว์ใช้ 1 ส่วน) และกากน้ำตาล 1 ส่วน
วิธี ทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 7 - 15 วัน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ หากต้องการขยายหัวเชื้อให้ใช้กากนำตาล 1 ก.ก. หัวเชื้อ 1 ลิตร และน้ำ 20 ลิตร หมักทิ้งไว้ 7 - 15 วัน เช่นกัน
การใช้ประโยชน์ : ฉีดพ่นป้องกันกำจัดศัตรูพืช ใช้หัวเชื้อน้ำหมัก 2 ช้อนแกง ผสมกับน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก 3 วัน หากต้องการลดการระบาดหรือป้องกันกำจัดแมลงจำพวกเพลี้ย ใช้น้ำหมัก 1 ส่วน เหล้าขาว 2 ส่วน น้ำส้มสายชูเข้มข้น 5% 1 ส่วน และกากน้ำตาล 1 ส่วน หมักทิ้งไว้ 1 วัน แล้วใช้น้ำที่ได้จากการหมัก 2 ช้อนแกงผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันกำจัดเพลี้ย หรือถ้าต้องการนำมาทำไวน์ ใช้จุลินทรีย์ 1 ลิตร ผสมกับน้ำตาลทรายขาว (ตามแต่ต้องการ) น้ำผลไม้ 3 ก.ก. และผงฟู 3 ช้อนแกง หรือใช้รักษาโรคฝ้า ใช้จุลินทรีย์ มะละกอสุก กล้วยน้ำว้าสุก น้ำผึ้งแท้ อย่างละ 1 ส่วน ผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 เดือน นำน้ำที่ได้ทาส่วนที่เป็นฝ้า

สูตรที่ 6 รศ.นพ. บุญเทียม เขมาภิรัตน์..
ส่วนผสม : เศษซากสัตว์สด (อาทิ หอย ปลา) 1 ส่วน และน้ำตาลทรายแดง 1 ส่วน
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ นำหัวเชื้อที่ได้ มาเจือจางกับน้ำในอัตรา 1 : 1,000
การ ใช้ประโยชน์ : นำน้ำที่ได้จากการเจือจางไปฉีดพ่นป้องกันกำจัดหอยเชอรี่ หากต้องการนำไปใช้กับพืชผักผลไม้ให้เปลี่ยนจากเศษซากสัตว์เป็นพืชสดแทน ในอัตรา 3 ต่อ 1 ส่วน


สูตรที่ 7 ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลเขาชนกัน..
1. การทำหัวเชื้อน้ำหมัก
ส่วนผสม : เศษซากพืช ผัก ผลไม้ 3 ก.ก. + กากน้ำตาล 1 ก.ก. + น้ำ 10 ก.ก.
วิธีทำ : นำมาผสมรวมกันหมักทิ้งไว้ 15 วัน จะได้หัวเชื้อน้ำหมัก
2. การทำน้ำหมักจากหอยเชอรี่
2.1 วิธีที่ 1 ทั้งตัวพร้อมเปลือก
ส่วนผสม : หอยเชอรี่ทั้งตัว 3 ส่วน + กากน้ำตาล 3 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
วิธีทำ : นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียด ผสมรวมกับส่วนผสมต่างๆ
2.2 วิธีที่ 2 จากไข่หอยเชอรี่
ส่วนผสม : ไข่หอยเชอรี่ 3 ส่วน + กากน้ำตาล 3 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
วิธีทำ : นำไข่หอยเชอรี่ทั้งตัวมาทุบหรือบดให้ละเอียด ผสมรวมกับส่วนผสมต่างๆ
2.3 วิธีที่ 3 จากไข่หอยเชอรี่และพืชสด
ส่วนผสม : ไข่หอยเชอรี่และส่วนของพืชที่อ่อนๆ ยาวไม่เกิน 6 นิ้ว หรือ 1 คืบ 3 ส่วน + กากน้ำตาล 3 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
2.4 วิธีที่ 4 จากเนื้อหอยเชอรี่
ส่วนผสม : เนื้อหอยเชอรี่ 3 ส่วน + กากน้ำตาล 2 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
วิธี ทำ : นำตัวหอยเชอรี่ทั้งตัวจำนวนเท่าใดก็ได้ มาต้มในกระทะ พร้อมทั้งใส่เกลือแกงผสมไปด้วยในจำนวนที่พอเหมาะ เพื่อให้เนื้อหอยเชอรี่แยกจากเปลือกได้ง่ายขึ้น จากนั้นนำเฉพาะเนื้อหอยเชอรี่มาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับส่วนผสมอื่นๆ ให้เข้ากันแล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1
2. 5 วิธีที่ 5 การทำปุ๋ยน้ำหมักจากเนื้อหอยเชอรี่และพืชสด
ส่วนผสม : เนื้อหอยเชอรี่ที่ได้จากวิธีที่ 4 3 ส่วน + กากน้ำตาล 3 ส่วน + พืชสดบดละเอียด 1 ส่วน + หัวเชื้อน้ำหมัก 1 ส่วน
วิธี ทำ : นำหอยเชอรี่ที่ได้จากการต้มกับเกลือในวิธีที่ 4 มาบดให้ละเอียด และนำไปผสมกับ น้ำตาลโมลาส และชิ้นส่วนอื่นๆ ของพืชที่อ่อนๆ เหมือนกับวิธีที่ 3 ผสมให้เข้ากัน แล้วนำไปหมักตามขบวนการเช่นเดียวกับวิธีที่ 1
เครดิต : http://www.banrainarao.com
Email:taajook@gmail.com

การทำปุ๋ยหมัก..น้ำหมักชีวะภาพ.!!





น้ำหมักชีวภาพ!! ทำง่าย ประโยชน์เพียบ..


วิธีทำน้ำหมัก!!ธรรมชาติ

          ช่วง นี้เราอาจจะได้ยินชื่อ "น้ำหมักชีวภาพ" บ่อยขึ้น ว่าแต่เพื่อน ๆ รู้จักไหมว่า จริง ๆ แล้ว "น้ำหมักชีวภาพ" คืออะไร บริโภคได้หรือไม่ แล้วเราจะทำน้ำหมักชีวภาพขึ้นมาใช้เองได้อย่างไร เอ้า...ตามมาดูกันเลย
          น้ำ หมักชีวภาพ หรือ น้ำสกัดชีวภาพ หรือ ปุ๋ยน้ำจุลินทรีย์ ตามแต่จะเรียก เป็นสารละลายเข้มข้นที่ได้จากการหมักเศษพืช หรือสัตว์ กับสารที่ให้ความหวาน จนถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ซึ่งเมื่อผ่านกระบวนการแล้วจะได้สารละลายเข้มข้นสีน้ำตาล ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ และสารอินทรีย์หลายชนิด

          เดิมทีนั้นจุดประสงค์ของการคิดค้น "น้ำหมักชีวภาพ" ขึ้นมา เพื่อใช้ประโยชน์ทางการเกษตรโดยเฉพาะ แต่ช่วงหลังก็มีการนำน้ำหมักชีวภาพ มาประยุกต์ใช้ประโยชน์ในด้านอื่นเช่นกัน คือ

          ด้านการเกษตร น้ำ หมักชีวภาพ มีธาตุอาหารสำคัญ ทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม แคลเซียม กำมะถัน ฯลฯ จึงสามารถนำไปเป็นปุ๋ย เร่งอัตราการเจริญเติบโตของพืช เพิ่มคุณภาพของผลผลิตให้ดีขึ้น และยังสามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืชได้ด้วย

          ด้านปศุสัตว์ สามารถช่วยกำจัดกลิ่นเหม็น น้ำเสียจากฟาร์มสัตว์ได้ ช่วยป้องกันโรคระบาดต่าง ๆ ในสัตว์แทนการให้ยาปฏิชีวนะ ทำให้สัตว์แข็งแรง มีความต้านทานโรค ช่วยกำจัดแมลงวัน ฯลฯ

          ด้านการประมง ช่วยควบคุมคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ช่วยแก้ปัญหาโรคพยาธิในน้ำ  ช่วยรักษาโรคแผลต่าง ๆ ในปลา กบ จระเข้ได้ ช่วยลดปริมาณขี้เลนในบ่อ ช่วยให้เลนไม่เน่าเหม็น สามารถนำไปผสมเป็นปุ๋ยหมักใช้กับพืชต่าง ๆ ได้ดี

          ด้านสิ่งแวดล้อม น้ำ หมักชีวภาพ สามารถช่วยบำบัดน้ำเสียจากการเกษตร ปศุสัตว์ การประมง โรงงานอุตสาหกรรม ชุมชน และสถานประกอบการทั่วไป แถมยังช่วยกำจัดกลิ่นเหม็นจากกองขยะ การเลี้ยงสัตว์ โรงงานอุตสาหกรรม และชุมชนต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยปรับสภาพอากาศที่เสียให้สดชื่น และมีสภาพดีขึ้น

         ประโยชน์ในครัวเรือน เราสามารถนำน้ำหมักชีวภาพ มาใช้ในการซักล้างทำความสะอาด แทนสบู่ ผงซักฟอก แชมพู น้ำยาล้างจาน รวมทั้งใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ ฯลฯ ได้ด้วย

          เห็น ประโยชน์ใช้สอยของ น้ำหมักชีวภาพ มากมายขนาดนี้ ชักอยากลองทำน้ำหมักชีวภาพดูเองแล้วใช่ไหมล่ะ จริง ๆ แล้ว น้ำหมักชีวภาพ มีหลายสูตรตามแต่ที่ผู้คิดค้นขึ้นเพื่อประโยชน์ใช้สอยต่าง ๆ กัน วันนี้เราก็มี วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ แบบง่าย ๆ มาฝากกันด้วย




วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร

          เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้

          ส่วนผสม : เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน

          วิธีทำ : นำส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย

          ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้

          ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย

          ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช

          ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หากต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้

          นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า "หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ" เมื่อ นำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น

วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อการซักล้าง..

          น้ำหมักชีวภาพ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการซักล้างได้ โดยมีสูตรให้นำผลไม้ เปลือกผลไม้ (ฝักส้มป่อย , มะคำดีควาย , มะนาว ฯลฯ) 3 ส่วน น้ำตาลทรายแดงหรือน้ำตาลอ้อย 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง แล้วหมั่นเปิดฝาคลายแก๊สออก โดยต้องวางไว้ในที่ร่ม อย่าให้ถูกแสงแดด หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพ สำหรับซักผ้า หรือล้างจานได้ ซึ่งสูตรนี้แม้ว่าผ้าจะมีราขึ้น หากนำผ้าไปแช่ทิ้งไว้ในน้ำหมักชีวภาพก็จะสามารถซักออกได้




**วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ..


**วิธีทำ น้ำหมักชีวภาพ เพื่อดับกลิ่น

          สูตรหนึ่งของการทำน้ำหมักชีวภาพมาดับกลิ่น คือ ใช้เศษอาหาร พืชผัก ผลไม้ที่เหลือทิ้ง 3 ส่วน กากน้ำตาลหรือโมลาส 1 ส่วน และน้ำ 10 ส่วน  ใส่รวมกันในภาชนะที่มีฝาปิดสนิท โดยให้เหลือช่องว่างไว้ประมาณ 1 ใน 5 ของขวด/ถัง หมักไว้นาน 3 เดือน ก็จะได้น้ำหมักชีวภาพใช้ดับกลิ่นในห้องน้ำ โถส้วม ท่อระบายน้ำ กลิ่นปัสสาวะสุนัข ฯลฯ ได้อย่างดี

**ข้อควรระวังในการใช้ น้ำหมักชีวภาพ..

          1. หากใช้น้ำหมักชีวภาพกับพืช ต้องใช้ปริมาณเจือจาง เพราะหากความเข้มข้นสูงเกินไป อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต และตายได้

          2. ระหว่างหมัก จะเกิดก๊าซต่าง ๆ ในภาชนะ ดังนั้นต้องหมั่นเปิดฝาออก เพื่อระบายแก๊ส แล้วปิดฝากลับให้สนิททันที

          3. หากใช้น้ำประปาในการหมัก ต้องต้มให้สุก เพื่อไล่คลอรีนออกไปก่อน เพราะคลอรีนอาจเป็นอันตรายต่อจุลินทรีย์ที่ใช้ในการหมัก

          4. พืชบางชนิด เช่น เปลือกส้ม ไม่เหมาะในการทำน้ำหมักชีวภาพ เพราะน้ำมันที่เคลือบผิวเปลือกส้มเป็นพิษต่อจุลินทรีย์

**น้ำหมักชีวภาพเพื่อการบริโภค..

          เรา อาจเคยได้ยินข่าวว่า มีคนนำน้ำหมักชีวภาพมาใช้บริโภคกันด้วย ซึ่งน้ำหมักชีวภาพที่ใช้ในการบริโภค หรือ เอนไซม์ เป็นสารโปรตีน วิตามินเอ บี ซี ดี อี เค อะมิโนแอซิค(Amino acid) และ อะเซทิลโคเอ (Acetyl Coa) ที่ได้จาก หมักผลไม้นานาชนิด เมื่อหมักระยะเริ่มแรกจะเป็นแอลกอฮอล์ ระยะต่อมา เป็นน้ำส้มสายชู ซึ่งมีรสเปรี้ยว อีกระยะหนึ่งเป็นยาธาตุ มีรสขม ก่อนจะได้เป็นน้ำหมักชีวภาพ (เอ็นไซม์) ซึ่งใช้เวลาหมักขยายประมาณ 2 ปี แต่หากจะนำไปดื่มกินควรผ่านการหมักขยายเป็นเวลา 6 ปีขึ้นไป

          โดยประโยชน์จากน้ำหมักชีวภาพนั้น หากมีการนวัตกรรมการผลิตที่ดีจะส่งผลดีต่อสุขภาพของระบบย่อยอาหาร ระบบขับถ่าย ทำให้ภูมิต้านทานโรคดีขึ้น และช่วยลดคอเลสเตอรอลในเลือดได้ แต่น้ำหมักชีวภาพ ที่ขายอยู่ตามท้องตลาด มักเป็นน้ำหมักชีวภาพที่อยู่ในสภาพเป็นแอลกอฮอล์ ดังนั้นเมื่อดื่มกินแล้วอาจมีอาการร้อนวูบวาบ มึนงง และอาจทำให้ฟันผุกร่อนได้ เพราะน้ำหมักชีวภาพ (เอนไซม์) มีสภาพเป็นกรดสูง ดังนั้นจึงไม่ควรดื่มน้ำหมักชีวภาพแบบเข้มข้น

          อย่างไรก็ตาม การทำน้ำหมักชีวภาพ ที่ใช้บริโภคนั้น ยังขาดข้อมูลทางวิทยาศาสตร์รองรับ หากดื่มกินเข้าไปก็เสี่ยงต่ออันตรายได้ โดยเฉพาะมีข้อมูลจาก สวทช. ร่วมกับ อย.ที่ได้เก็บตัวอย่างของผลิตภัณฑ์น้ำหมักชีวภาพที่วางขายตามท้องตลาดมาตรวจ สอบ พบว่า น้ำหมักชีวภาพเหล่านี้ แม้จะไม่มีการปนเปื้อนของโลหะ เศษไม้ เศษดิน แต่พบการปนเปื้อนของเชื้อรา ยีสต์ เมทิลแอลกอฮอล์ เอทิลแอลกอฮอล์ ซึ่งส่งผลต่อระบบประสาทและตา โดยเฉพาะเมทานอล หรือเมธิลแอลกอฮอล์ที่ทำอันตรายต่อร่างกายได้

          ดัง นั้นแล้ว เพื่อความปลอดภัย ควรหลีกเลี่ยงการซื้อผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา รวมทั้งต้องพิจารณาความน่าเชื่อถือของผู้ผลิต แหล่งผลิต และบรรจุภัณฑ์หีบห่อด้วย แต่ถ้าหากจะนำ "น้ำหมักชีวภาพ" มาใช้ในครัวเรือน หรือการเกษตร ลองทำง่าย ๆ ด้วยตัวเอง ก็จะปลอดภัยและประหยัดที่สุด


**สารพันสูตรน้ำหมัก ฮอร์โมน เร่งดอกเร่งผล**.

          มาตามที่สัญญาไว้ในครั้งก่อน ว่าจะเเนะนำสูตรการทำน้ำหมัก เเละฮอร์โมน เร่งดอกเร่งผลให้นำไปทดลองทำใช้กันดู โดยมี 3 สูตรมาเเบ่งปัน ลองดูว่าใครมีอะไรที่หาได้ง่าย ก็เลือกใช้อันนั้นกันนะคะ
**ฮอร์โมนไข่..
                ฮอร์โมนไข่นี้เหมาะสำหรับการเร่งดอก ให้ติดดอกได้เร็ว และดี มีความสมบูรณ์มากขึ้น สำหรับวิธีการทำอาจแตกต่างกันบ้างในแต่ละสูตร แต่สูตรที่นำมาแนะนำนี้มากจากสวนเกษตรดาดฟ้า สำนักงานเขตหลักสี่ค่ะ
ส่วนผสม
                หัวเชื้อจุลินทรีย์เหง้ากล้วย     1                 ลิตร
                ไข่ไก่ หรือไข่เป็ด                1              กิโลกรัมหรือประมาณ 16 ฟอง
                กากน้ำตาล                       1             ลิตร
                น้ำมะพร้าวอ่อน                    2             ลูก
                ลูกแป้ง                             1             ลูก
วิธีทำ
1.   ตอกไข่ให้แตก เอาเฉพาะเนื้อไข่ เพราะเปลือกไข่ย่อยสลายค่อนข้างยาก ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3 เดือน
2.   นำส่วนผสมทั้งหมดมาผสมกันในถังหมัก
3.   หมักทิ้งไว้ 1 เดือน แล้วนำมาปั่นให้ละเอียด เพื่อป้องกันไม่ให้หัวฉีดอุดตัน
เวลานำมาใช้ ให้ผสมฮอร์โมนไข่ 2 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร ฉีดรดต้นไม้ตอนที่ยังไม่ออกดอก หากต้นไม้เริ่มออกดอกแล้ว แนะนำว่าควรลดปริมาณฮอร์โมนไข่ลงเหลือเพียง 1 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 5 ลิตร หากใช้มากเกินไปจะทำให้ดอกร่วงได้
ส่วนเปลือกไข่ที่เหลือ แนะนำให้นำไปตากแห้ง แล้วนำมาบด ผสมในปุ๋ยหมักแทน โดยเปลือกไข่นี้ก็จะช่วยเพิ่มแคลเซียมให้พืชได้อย่างดี

**ฮอร์โมนผลไม้สุก..
ฮอร์โมนผลไม้สุกจะมีพวกฟอสฟอรัสสูง ช่วยให้พืชเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะในช่วงที่จะออกดอกออกผล
ส่วนผสม
กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทองแก่จัด อย่างละ 1 กิโลกรัม
กากน้ำตาล 100 ซีซี
หัวเชื้อจุลินทรีย์ 100 ซีซี
น้ำสะอาด 5 ลิตร
วิธีทำ
นำผลไม้สุกที่เตรียมไว้มาสับให้ละเอียด ใส่ลงในถัง จากนั้นนำหัวเชื้อจุลินทรีย์ กากน้ำตาล และน้ำลงไป ผสมให้เข้ากัน แล้วเทใส่ลงไปในถังที่มีผลไม้สุก ปิดฝา หมักทิ้งไว้ 7 วัน กรองน้ำหมักออกมาใช้ โดยเวลาใช้ให้เจือจางตามความเหมาะสม แต่ในสูตรที่นำมานี้เขาแนะนำให้ใช้น้ำหมัก 30 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุกๆ 7-10 วัน
ที่มา : นายเสรี กล่ำน้อย อ.เมือง จ.ชัยนาท ขอบคุณข้อมูลจาก วารสารเกษตรกรรมธรรมชาติ ฉบับ2/2555

**น้ำหมักน้ำนม..
ส่วนผสม
น้ำนมวัว                3           ส่วน
กากน้ำตาล            1            ส่วน
พด.6                   1            ซอง
นำส่วนผสมทั้งหมดมาใส่รวมกัน ผสมกันให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 7 วัน
ใช้ผสมรดน้ำ ในช่วงที่พืชเจริญเติบโตเต็มที่ พร้อมจะออกดอกออกผล น้ำหมักน้ำนมนี้จะช่วยให้พืชติดดอกติดผลได้ดี และมีความสมบูรณ์
ขอบคุณข้อมูลจาก ครูวิวิช โพธิพันธ์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ อ.บ้านโป่ง



Email:taajook@gmail.com
เครดิต:กระปุกดอทคอม