วันเสาร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

การทำน้ำหมักชีวภาพ..เพื่อชาวรากหญ้า.!!

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพไว้ใช้เอง..ที่บ้าน.!!



วัสดุและอุปกรณ์


                 1. เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า


                 2. กากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง


                3. ถังสำหรับหมัก


                4. มีด

วิธีการทำน้ำหมักชีวภาพ

1. นำวัตถุดิบมาสับ บด โขลก หรือหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ

2. บรรจุลงในภาชนะ

3. เติมกากน้ำตาล หรือน้ำตาลทรายแดง และส่วนผสมอื่น ๆ ลงไป ตามอัตราส่วน

4. คนหรือคลุกเคล้าให้เข้ากัน ปิดฝาภาชนะ หมักไว้ 7-15 วัน

5. ครอบตามกำหนดปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพจะมีกลิ่นหอม

6. สำหรับปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพถั่วเหลือง และปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพปลาสดหรือหอยเซลรี่ ควรหมักอย่างน้อย 1 เดือน จึงนำไปใช้ได้ และระหว่างหมักให้หมั่นคนส่วนผสมทุกวัน

7. หากมีกลิ่นเหม็นหรือบูดเน่าให้เติมกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทราย แล้วคนให้เข้ากันทิ้งไว้ 3-7 วัน กลิ่นเหม็นหรือกลิ่นบูดเน่าจะหายไป

8. การแยกกากและน้ำชีวภาพ โดยใช้ถุงอาหารสัตว์ ถุงปุ๋ยเคมี หรือมุ้งเขียว รองรับกากและน้ำชีวภาพจะไหลลงภาชนะที่เตรียมไว้ และกากที่เหลือนำไปคลุมโคนพืช หรือคลุมแปลงต่อไปได้อีก

เคล็ดลับในการทำน้ำหมักให้ได้ผลดี

1. ควรเลือกใช้เศษพืชผัก ผลไม้ หรือเศษอาหารที่ยังไม่บูดเน่า สับหรือบดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ใส่ในภาชนะที่มีปากกว้าง เช่นถังพลาสติกหรือโอ่ง หากมีน้ำหมักชีวภาพอยู่แล้วให้เทผสมลงไปแล้วลดปริมาณกากน้ำตาลลง ปิดฝาภาชนะทิ้งไว้จนได้เป็นน้ำหมักชีวภาพจากนั้นกรอกใส่ขวดปิดฝาให้สนิทรอการใช้งานต่อไป

2. ในระหว่างการหมัก ห้ามปิดฝาภาชนะจนแน่นสนิทเพราะอาจทำให้ระเบิดได้เนื่องจากระหว่าง การหมักจะเกิดก๊าชต่างๆขึ้นเช่นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ก๊าซมีเทนเป็นต้น

3.ไม่ควรเลือกพืชจำพวกเปลือกส้ม ใช้ทำน้ำหมัก เพราะมีน้ำมันที่ผิวเปลือกจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายการทำน้ำหมักชีวภาพ ไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องอาศัยเวลาและความอดทน ที่สำคัญน้ำหมักชีวภาพไม่มีสูตรที่ตายตัว เราสามารถทดลองทำปรับเปลี่ยนวัตถุดิบให้เหมาะสมกับต้นไม้ของเรา เพราะสภาพแวดล้อมแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกัน ต้นไม้แต่และถิ่นก็ต้องการการดูแลที่แตกต่างกัน น้ำหมักชีวภาพจึงจำเป็นต้องมีความแตกต่างกันตามท้องถิ่น

การใช้ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ

1. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพมีค่า ความเข้มข้นของสารละลายสูง ( ค่า EC เกิน 4 Ds/m ) และเป็น กรดจัด มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 3.6-4.5 ก่อนนำไปใช้กับพืชต้องปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เป็นกลาง โดยเติมหินฟอสเฟต ปูนไดโลไมล์ ปูนขาว กระดูกป่น อย่างใดอย่างหนึ่ง อัตรา 5-10 กิโลกรัม/ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ 100 ลิตร แล้วผสมปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ อัตรา 30-50 CC/น้ำ 20 ลิตร

2. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ จะเป็นประโยชน์สูงสุด ต้องใช้เวลาในการหมัก จนแน่ใจว่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สมบูรณ์แล้ว จึงนำไปใช้กับพืชได้


การทำน้ำหมักชีวภาพ

3. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ธาตุอาหารเกือบทุกชนิด แต่มีในปริมาณต่ำ จึงควรใส่ปุ๋ยอินทรีย์ ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักแห้งชีวภาพ ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยเคมีเสริม


4. ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพแต่ละสูตรมี ฮอร์โมนพืช ในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่นำมาใช้ทำ ปุ๋ยหมักน้ำชีวภาพ มีฮอร์โมนในกลุ่ม อ๊อกซิน ได้แก่ อินโดลอะซิติกแอซิล (LAA) มีผลในการเร่งการเจริญเติบโตของยอด กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ ฮอร์โมนจิบเบอร์เรลลิน (GA3) ช่วยทำลายการฟักตัวของเมล็ด กระตุ้นการเจริญเติบโตของต้น ส่งเสริมการออกดอก และทำให้ช่อดอกยืดยาวขึ้น และฮอร์โมน กลุ่มไซโตโคนิน ได้แก่ เซติน (Zeatin) และไคเนติน (Kinetin) มีผลกระตุ้นการเกิดตา ช่วยเคลื่อนย้ายอาหารในต้นพืช และช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น..
อบคุณ  :  http://farmfriend.blogspot.com


Email.taajook@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น