วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2558

การทำปุ๋ยหมัก..จากเศษวัสดุธรรมชาติ.!!

การทำปุ๋ยหมักจากเศษวัสดุธรรมชาติ..
        
          ปุ๋ยหมักชีวภาพ คือ ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผ่านกระบวนการหมักกับน้ำสกัดชีวภาพ ช่วยในการบำรุงดิน ย่อยสลายอินทรีย์วัตถุในดินให้เป็นอาหารแก่พืช
วัสดุอุปกรณ์
          1) มูลสัตว์แห้งละเอียด 3 ส่วน
          2) แกลบดำ 1 ส่วน
          3) อินทรีย์วัตถุอื่นๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว ขุยมะพร้าวกากปาล์ม เปลือกมัน เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน
          4) รำละเอียด 1 ส่วน
          5) น้ำสกัดชีวภาพ หรือใช้หัวเชื่อจุลินทรีย์ 1 ส่วน
          6) กากน้ำตาล 1 ส่วน
          7) น้ำ 100 ส่วน
          8)บัวรดน้ำ





ขั้นตอนวิธีทำ

          1) นำวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน
          2) ผสมเอาส่วนของน้ำสกัดชีวภาพกับน้ำตาลและน้ำคนจนละลายเข้ากันดี ใส่บัวราดบนกลองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกให้เข้ากันจนทั่วให้ได้ความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือชื้นหรือแห้งจนเกินไป (ประมาณ 30-40%) หรือลองเอามีดขยำบีบดู ถ้าส่วนผสมเป็นก้อนไม่แตกออกจากกันและมือรู้สึกชื้นๆ ไม่แฉะแสดงว่าใช้ได้ ถ้าแตกออกจากกันยังใช้ไม่ได้ต้องรดน้ำเพิ่ม
          3) หมักกองปุ๋ยหมักไว้ 7 วัน ก็นำไปใช้ได้
          4) วิธีหมักทำได้ 2 วิธี คือ
                    4.1 เกลี่ยกองปุ๋ยหมักบนพื้นซีเมนต์หนาประมาณ 1-2 วัน คลุมด้วยกระสอบป่านทิ้งไว้ 4-5 วัน ตรวจดูความร้อน ในวันที่ 2-3 ถ้าร้อนมากอาจจะต้องเอากระสอบที่คลุมออกแล้วกลับกองปุ๋ยเพื่อระบายความร้อน หลังจากนั้นกองปุ๋ยจะค่อยๆ เย็นลงนำลงบรรจุกระสอบเก็บไว้ใช้ต่อไป
                    4.2 บรรจุปุ๋ยหมักที่เข้ากันดีแล้วลงในกระสอบปุ๋ย ไม่ต้องมัดปากถุง ตั้งทิ้งไว้บนท่อนไม้ หรือไม้กระดานที่สามารถถ่ายเทอากาศใต้พื้นถุงได้ ทิ้งไว้ประมาณ 5- 7 วัน จะได้ปุ๋ยชีวภาพที่ประกอบด้วย จุลินทรีย์ และสารอินทรีย์ต่างๆ เช่นเดียวกันกับน้ำสกัดชีวภาพในรูปแห้ง ปุ๋ยหมักชีวภาพที่ดีจะมีกลิ่นหอม มีใยสีขาวของเชื้อราเกาะเป็นก้อนในระหว่างการหมัก ถ้าไม่เกิดความร้อนเลย แสดงว่าการหมักไม่ได้ผล อุณหภูมิในระหว่างการกมักที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 40-50 องศาเซลเซียส ถ้าให้ความชื้นสูงเกินไป จะเกิดความร้อนสูงเกินไป ฉะนั้นความชื้นที่ต้องพอดี ประมาณ 30% ปุ๋ยหมักชีวภาพเมื่อแห้งดีแล้ว สามารถเก็บไว้ได้นานหลายเดือน เก็บไว้ในที่แห้งในร่ม








 วิธีใช้
          1.) ผสมปุ๋ยหมักชีวภาพกับดินในแปลงปลูกผักทุกชนิดในอัตรา 1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

          2.) พืชผักอายุเกิน 2 เดือน เช่นกะหล่ำปลี ถั่วฝักยาว แตงและฟักทอง ใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพคลุกกับดินรองก้นหลุม ก่อนปลูกผักประมาณ 1 กำมือ
          3) ไม้ผลควรรองก้นหลุมด้วยเศษหญ้าหรือใบไม้แห้ง ฟางและปุ๋ยหมักชีวภาพ 1-2 กิโลกรัม สำหรับไม้ผลที่ปลูกแล้วใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ แนวทรงพุ่ม 1.5 กิโลกรัม ต่อตารางเมตร แล้วคลุมด้วยหญ้าแห้งหรือใบไม้แห้งหรือฟาง ควรใส่ปุ๋ยหมักชีวภาพ เดือนละ 1 ครั้งๆ ละ 1 กำมือ
          4.) ลักษณะของปุ๋ยหมักต่างๆ ตามระยะเวลาในการนำมาใช้ โดยแบ่งเป็น 4 แบบ ดังนี้
                    4.1ปุ๋ยหมักค้างปี ใช้เศษพืชหมักอย่างเดียวนำมาหมักทิ้งไว้ค้างปีก็สารมารถนำมาใช้เป็นปุ๋ยหมัก โดยไม่ต้องดูแลรักษา ซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการหมักนานประมาณ 1 ปี
                    4.2 ปุ๋ยหมักธรรมดา ใช้มูลสัตว์ ใช้เศษพืชและมูลสัตว์ในอัตรา 100:10 ถ้า เป็นเศษพืชชิ้นส่วนเล็กนำมาคลุกผสมได้เลย แต่ถ้าเป็นเศษพืชส่วนใหญ่ๆ นำมากองเป็นชั้นๆ แต่ละกองจะทำประมาณ 3 ชั้น แต่ละชั้นประกอบด้วยเศษพืชที่ย่ำและรดน้ำสูงประมาณ 30-40 เซนติเมตร แล้วโรยทับด้วยมูลสัตว์แบบนี้ใช้ระยะเวลาหมักน้อยกว่าปุ๋ยหมักค้างปี เช่น ถ้าใช้ฟางข้าวจะใช้เวลาประมาณ 6-8 เดือนในการหมัก
                    4.3 ปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่ง ใช้เวลาในการทำสั้นทำได้โดยการใช้เชื้อจุลินทรีย์เร่งการย่อยสลายของเศษพืช และมูลสัตว์ทำให้ได้ปุ๋ยหมักเร็วขึ้นนำไปใช้ได้ทันฤดูกาลโดยใช้สูตรดังนี้ เศษพืช 1000 กิโลกรัม มูลสัตว์ 100 กิโลกรัม และเชื่อจุลินทรีย์ (น้ำหมักชีวภาพ) ตามความเหมาะสม ใช้เวลาหมักประมาณ 30-60 วัน มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการประหยัดในการซื้อเชื่อจุลินทรีย์
                    4.4 ปุ๋ยหมักต่อเชื้อ เป็นการนำปุ๋ยหมักธรรมดาใช้จุลินทรีย์เร่งจำนวน 100 กิโลกรัม นำไปต่อเชื้อการทำปุ๋ยหมักปุ๋ยหมักได้อีก 1000 กิโลกรัม(1 ตัน) การต่อเชื้อนี้สามารถทำการต่อได้เพียงอีก 3 ครั้ง ใช้เวลาการหมักประมาณ 30-60 วัน มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการประหยัดในการซื้อเชื่อจุลินทรีย์
          5.) การพิจารณาในแง่ใช้ประโยชน์สูงสุดในการใช้ปุ๋ยหมักชีวภาพต้องพิจารณาจาก ลักษณะของการใส่ให้แก่พืชปลูก โดยแบ่งได้ 3 แบบดังนี้
                    5.1 ใส่แบบหว่านทั่วแปลงการใส่ปุ๋ยหมักแบบนี้เป็นวิธีการที่ดีต่อการปรับปรุง บำรุงดิน เนื่องจากปุ๋ยหมักจะกระจายอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลงปลูกพืชที่มีขนาดไม่ ใหญ่มากนัก ส่วนมากจะใช้กับการปลูกข้าวหรือพืชไร่ หรือพืชผัก แต่จะต้องใช้แรงงานในการใส่ปุ๋ยหมัก อัตราของปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 2 ตัน ต่อไร่ต่อปี
                    5.2 ใส่แบบเป็นแถว การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวตามแนวปลูกพืชมักใช้กับการปลูกพืชไร่ วิธีการใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นแถวที่เหมาะสมที่จะใช้แบบโรยเป็นแถวสำหรับระบบการ ปลูกพืชไร ทั่วไป อัตราปุ๋ยหมักที่ใช้ประมาณ 3 ตันต่อไร่ต่อปี
                    5.3 ใส่แบบเป็นหลุม การใส่ปุ๋ยหมักแบบเป็นหลุมมักจะใช้กับการปลูกไม้ผล และไม้ยืนต้นโดยสามารถใส่ปุ๋ยหมักได้สองระยะคือ ในช่วงแรกของการเตรียมหลุมเพื่อการปลูก นำดินด้านบนของหลุมคลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักแล้วใส่รองก้นหลุม อีกระยะหนึ่งอาจจะใส่ปุ๋ยหมักในช่วงที่พืชเจริญแล้ว โดยการขุดเป็นร่องรอบๆ ตันตามแนวทรงพุ่มของต้นพืช แล้วใส่ปุ๋ยหมักลงในร่องแล้วกลบด้วยดิน อัตราการใช้ปุ๋ยหมักประมาณ 20-50 กิโลกรัมต่อหลุม..







การใช้ประโยชน์
          1.) ทำให้โครงสร้างของดินและการซึมผ่านของน้ำดีขึ้น
          2.) เพิ่มการดูดซับของธาตุอาหารหลักและลดความเป็นพิษของธาตุบางชนิด
          3.) เพิ่มกิจกรรมของจุลินทรีย์ในดินและลดปริมาณเชื่อโรคบางชนิด
          4.) การระบายอากาศของดินและรากพืชแผ่กระจายได้ดีขึ้น
          5.) ดินค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพืชและลดการสูญเสียธาตุอาหารของพืช
 

วิธีทำน้ำหมักชีวภาพ เพื่อการเกษตร
       เราสามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ ในการทำน้ำหมักชีวภาพ ได้
       
ส่วนผสม :เรา สามารถเลือกส่วนผสมจาก พืช ผลไม้สุก หรือสัตว์ อย่างหอยเชอรี่ อย่างใดอย่างหนึ่ง ในการทำน้ำหมักชีวภาพ โดยสับเป็นชิ้นเล็ก 3 ส่วน, กากน้ำตาล 1 ส่วน (อาจใช้น้ำตาลทรายแดง หรือน้ำตาลทรายขาว ผสมน้ำมะพร้าว 1 ส่วนแทนได้) น้ำเปล่า 10 ส่วน
      
วิธีทำ :นำ ส่วนผสมทั้งหมดมาคลุกเคล้ากัน แล้วบรรจุลงในถังหมักพลาสติก หรือขวดปิดฝาเก็บไว้ในที่ร่ม นานประมาณ 3 เดือน แล้วจึงสามารถนำไปใส่เป็นปุ๋ยให้พืชผักผลไม้ได้ โดย
    1. ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 10 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อบำรุงใบพืชผักผลไม้
    2. ใช้น้ำหมักชีวภาพอัตราส่วน 15-20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ให้ดินร่วนซุย
    3. ใช้น้ำหมักชีวภาพ อัตราส่วน 1 ส่วน น้ำ 1 ส่วน เพื่อกำจัดวัชพืช




ทั้งนี้ มีเทคนิคแนะนำว่า หาก ต้องการบำรุงส่วนใบพืช ก็ให้ใช้ส่วนใบยอดพืชมาหมัก หากต้องการบำรุงผล ให้ใช้ส่วนผล เช่น กล้วยน้ำว้าสุก มะละกอสุก เปลือกสับปะรด ฟักทองมาหมัก หรือหากต้องการใช้กำจัดศัตรูพืข ควรหมักสะเดา ตะไคร้หอม ข่า แยกต่างหากด้วย เมื่อจะใช้ก็นำมาผสมฉีดพ่นพืชผักผลไม้
           นอกจากนี้ หากใช้สายยางดูดเฉพาะน้ำใส ๆ จากน้ำหมักชีวภาพที่หมักได้ 3 เดือนแล้วออกมา จะเรียกส่วนนี้ว่า"หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพ"เมื่อ นำไปผสมอีกครั้ง แล้วหมักไว้ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อน้ำหมักชีวภาพอายุ 5 เดือน ซึ่งหากขยายต่ออายุทุก ๆ 2 เดือน จะได้หัวเชื้อที่อายุมากขึ้นเรื่อย ๆ และประสิทธิภาพสูงมากขึ้น



เครดิต: http://www.manowsi.com
Email:taajook@gmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น